สอนลูกเขียนหนังสือ การพัฒนาการเขียน เป็นอีกหนึ่งทักษะที่จำเป็นสำหรับเด็กปฐมวัย ที่คุณพ่อคุณแม่ควรให้ความสำคัญ เพราะทักษะด้านการเขียนมีประโยชน์ในการดำเนินชีวิตประจำวัน คุณพ่อคุณแม่สามารถเสริมสร้างทักษะการเขียนให้กับลูกได้เองจากที่บ้าน ด้วยการให้ลูกเริ่มฝึกจากการเขียนชื่อของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นชื่อเล่น ชื่อจริง นามสกุล ทั้งชื่อที่เป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เพราะการเขียนชื่อเป็นเรื่องใกล้ตัวเด็ก เมื่อสอนลูกเขียนหนังสือจนเขียนได้จะเกิดความภูมิใจและกระตุ้นความสนใจในการเขียนได้ดีที่สุด

สอนลูกเขียนหนังสือ เริ่มต้นจากการพัฒนากล้ามเนื้อมือ

การสอนลูกเขียนหนังสือ ก่อนอื่นเด็กๆ จะเริ่มฝึกเขียนหรือหยิบจับดินสอได้คล่อง ต้องมีกล้ามเนื้อมือที่แข็งแรงพร้อมสำหรับการเขียนแล้วจริงๆ ซึ่งคุณพ่อคุณแม่สามารถพัฒนากล้ามเนื้อมือลูกได้ ด้วยการหากิจกรรมที่ใช้มือในการทำเป็นหลักให้ได้ลองทำ เช่น การให้ขยำกระดาษ การปั้นต่างๆ การกรอกน้ำใส่ขวด การร้อยลูกปัด การใช้กรรไกรตัดกระดาษ ฯลฯ กิจกรรมเหล่านี้จะช่วยในการเสริมสร้างทักษะการควบคุมจัดการกับประสาทนิ้วมือ เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการจับดินสอของเด็ก มีเทคนิคในการฝึกทักษะการเขียน และฝึกกล้ามเนื้อมือแบบพื้นฐานที่เหมาะสมตามเกณฑ์อายุของเด็กๆ มาแนะนำกัน

การฝึกกล้ามเนื้อมือตามอายุ

  • อายุ 2-2 ขวบครึ่ง

เด็กในช่วงนี้จะชอบขีดเขียนอยู่แล้วโดยธรรมชาติ ก่อนที่จะสอนลูกเขียนหนังสือคุณพ่อคุณแม่ควรหากิจกรรมง่ายๆ ที่สามารถทำเองได้เมื่ออยู่บ้าน คือ การวาดรูป การขีดเขียนอย่างอิสระ ในการเขียนครั้งแรกอาจเริ่มใช้สีเทียนที่มีขนาดแท่งที่ใหญ่ เพื่อเด็กจะได้ถนัดในการหยิบจับ ส่วนกระดาษอาจเป็นสมุดวาดเขียน หรือกระดาษ A4 และในทุกครั้งเราควรจดบันทึกวันที่ที่น้องเริ่มขีดเขียนในแต่ละครั้ง เพื่อที่เราจะได้ใช้เปรียบเทียบดูพัฒนาการเป็นระยะๆ ว่าในการขีดเขียนแต่ละครั้งมีรายละเอียดเพิ่มขึ้นมากน้อยเท่าไหร่อาจเพิ่มความสนุกความตื่นเต้นให้กับเด็กได้ โดยการใช้กระดาษลอกลาย หรือกระดาษไขที่มีขนาดใหญ่ แล้วใช้เทปใสแปะที่มุมทั้งสี่ด้าน ติดกับผนังในระยะพอดีกับตัวเด็ก และให้เด็กใช้สีน้ำระบายอย่างอิสระตามจินตนาการ

ใน 1 สัปดาห์คุณพ่อคุณแม่ก็อาจจะสลับสับเปลี่ยนมาทำกิจกรรมปั้นแป้งโด (อาจต้องมีสีที่หลากหลายเพื่อดึงดูดความสนใจเด็กๆ) กิจกรรมนี้คุณพ่อคุณแม่สามารถ “ทำแป้งโดได้เองง่ายๆ ที่บ้าน” สะอาดและปลอดภัยไร้สารพิษ เมื่อเด็กๆ เบื่อจากระบายสีหรือปั้นแป้งโด คุณพ่อคุณแม่ก็สามารถเปลี่ยนกิจกรรมได้ตามความเหมาะสม มีทั้ง ขยำกระดาษ ฉีกปะ พับกระดาษ สลับกิจกรรมแบบนี้ไปเรื่อยๆ เด็กก็จะมีพัฒนาการกล้ามเนื้อมือที่แข็งแรงดีขึ้นตามลำดับและนำไปสู่พัฒนาการในการเขียนในช่วงอายุต่อไป

  • อายุ 3 ขวบ

ในวัยนี้การสอนลูกเขียนหนังสือจะเริ่มมีความพร้อมมากขึ้น คุณพ่อคุณแม่สามารถนำกิจกรรมศิลปะในรูปแบบต่างๆ มาจัดสลับกับการฝึกเขียนตามรอยเส้นประหรือที่นิยมเรียกกันว่าแบบฝึกลีลามือ ฝึกเพื่อให้เด็กได้รู้จักบังคับกล้ามเนื้อมือไปในทิศทางต่างๆ ในหนึ่งหน้ากระดาษก็ไม่ควรมีลายเส้นที่เยอะและถี่เกินไป เพราะอาจทำให้เด็กรู้สึกเบื่อหน่ายกับการเขียนจนทำให้เด็กต่อต้าน การสอนลูกเขียนหนังสือแต่ละครั้งคุณพ่อคุณแม่ไม่ควรคาดหวังกับเด็กจนเกินไปและไม่ว่าเด็กจะเขียนออกมาในรูปแบบใดก็ควรให้คำชม เพื่อเป็นการเสริมแรงในทางบวก เด็กจะสนุกและมีความสุขในการเขียน

  • อายุ 3 ขวบครึ่ง

เมื่อการสอนลูกเขียนหนังสือเริ่มมีความคล่องแคล่วในการหยิบจับดินสอ สามารถบังคับกล้ามเนื้อมือให้เขียนตรงตามเส้นประไปในทิศทางต่างๆ ได้แล้ว คุณพ่อคุณแม่ก็ควรเพิ่มความท้าทายให้เด็กๆ โดยเริ่มให้เด็กเขียนชื่อเล่น แต่ยังเขียนตามรอยประ ถ้าเด็กมีความพร้อมคุณพ่อคุณแม่ก็สามารถให้เด็กเขียนโดยไม่มีเส้นประได้ แต่จะเริ่มเขียนชื่อภาษาอังกฤษก่อน แล้วมาเป็นพยัญชนะไทยสลับกันไป ที่แนะนำให้เริ่มจากภาษาอังกฤษ เพราะชื่อภาษาอังกฤษจะเขียนง่ายกว่าพยัญชนะไทย เนื่องจากไม่มีสระและวรรณยุกต์ทำให้เด็กจดจำได้ดีกว่า เมื่อเด็กเขียนได้คล่องแล้วค่อยกลับมาเขียนชื่อภาษาไทย แต่ถ้าจะให้ดีควรให้เด็กหมั่นฝึกอ่านตัวพยัญชนะไทยและ อังกฤษ ให้แม่นยำจะทำให้การฝึกเขียนชื่อง่ายต่อตัวเด็กเอง

ในการสอนลูกเขียนหนังสือมีอีกวิธีที่อยากแนะนำให้ลองทำกัน คือ ใช้กระดาษเทา-ขาวกับกระดาษลอกลาย โดยตัดกระดาษทั้งสองชนิดให้มีขนาดความกว้าง 8 นิ้ว ยาว 4 นิ้ว จากนั้นใช้เมจิกเส้นใหญ่เขียนชื่อเล่นของเด็กลงบนกระดาษเทา-ขาว แล้ววางกระดาษลอกลายไว้ด้านบน ใช้คลิปหนีบกระดาษหนีบที่มุมซ้ายและขวา เสร็จแล้วให้เด็กใช้สีหรือดินสอเขียนลอกลายชื่อตัวเองได้เลย เหมาะสำหรับฝึกให้เด็กจดจำว่าในชื่อตัวเองมีพยัญชนะและสระอะไรบ้าง เมื่อทำซ้ำๆ ย้ำๆ เด็กก็จะจดจำได้เองโดยปริยายทั้งนี้อยากให้คุณพ่อคุณแม่อยู่ข้างๆ คอยให้คำแนะนำเด็ก ในเวลาทำกิจกรรม เพราะในช่วงแรกของการสอนลูกเขียนหนังสืออาจจะสับสนในการม้วนหัวพยัญชนะหรือสระเด็กจะม้วนหัวสลับกัน ถ้าไม่คอยแนะนำเด็กจะจดจำในสิ่งที่ผิดได้

  • อายุ 4–5 ขวบ

ในเกณฑ์อายุนี้ เด็กส่วนมากจะมีกล้ามเนื้อมัดเล็กแข็งแรงและใช้ได้คล่อง การสอนลูกเขียนหนังสือสามารถเขียนได้โดยไม่ต้องมีเส้นหรือรอยประ แต่จะมีปัญหาบ้างในเรื่องการม้วนหัวของพยัญชนะไทยสามารถให้เด็กทำแบบทดสอบตามรอยประได้ และสำหรับเด็กที่พร้อมจะพัฒนาไปอีกขั้นแบบทดสอบอาจจะเพิ่มระดับความยากมากขึ้น โดยคุณพ่อคุณแม่อาจใช้แบบทดสอบที่เป็นการเขียนแบบต่อตัวพยัญชนะหรือแบบทดสอบตารางพยัญชนะหาตัวอักษรที่เป็นชื่อของเด็กเองมาสอนลูกเขียนหนังสือ ถ้าเด็กคนไหนยังไม่สามารถจดจำพยัญชนะต่างๆ ได้แม่นยำไม่ต้องเป็นกังวล สามารถใช้แบบทดสอบแบบง่ายให้เด็กทำได้ หมั่นทำซ้ำๆ ก็จะพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น แต่ควรจดบันทึกพัฒนาการการเรียนรู้ไว้ด้วย เพราะเมื่อเด็กเริ่มโตขึ้นจะมีการแกล้งทำไม่ได้ เนื่องจากเบื่อไม่อยากทำ มาทำให้เราสับสนได้ว่า ตกลงทำไม่ได้หรือแค่เบื่อไม่อยากทำกันแน่

  • อายุ 5–6 ขวบ

ในเกณฑ์อายุนี้ เด็กๆ ก็จะมีความพร้อมมากมาย กล้ามเนื้อมือและตาประสานสัมพันธ์ได้เป็นอย่างดี การสอนลูกเขียนหนังสือเขียนทั้งพยัญชนะไทยและอังกฤษได้คล่อง สามารถเขียนทั้งชื่อเล่น ชื่อจริงและนามสกุลได้แล้ว แต่ถ้าเด็กยังจดจำพยัญชนะชื่อของตัวเองได้ไม่ครบ คุณพ่อคุณแม่ก็สามารถทำแบบทดสอบเติมพยัญชนะจากชื่อของตัวเองที่หายไป โดยใช้ทฤษฏีเดิม คือ ทำซ้ำๆ ย้ำๆ แค่นี้ก็หมดห่วงเรื่องลูกเขียนชื่อไม่ได้และก็จะไม่ถูกกดดันจากครูที่โรงเรียนด้วย

แต่ทั้งหมดทั้งมวล การสอนลูกเขียนหนังสือควรขึ้นอยู่กับพัฒนาการเด็กเป็นสำคัญ เพราะเด็กแต่ละคนมีพัฒนาการที่แตกต่างกันไป บางคนพัฒนาการไปได้เร็ว บางคนพัฒนาการไปได้ช้า คุณพ่อคุณแม่ควรมีความอดทนและหมั่นดูแลเอาใจใส่ปัญหาทั้งหมดก็จะหมดไป

สอนลูกเขียนหนังสือ

การสอนลูกจับดินสอให้ถูกวิธี

ก่อนเริ่มสอนลูกเขียนหนังสือ ขอแนะนำให้สอนลูกจับดินสออย่างใจเย็น เพราะการจับดินสอที่ถูกต้อง ส่งผลต่อการเขียนของเด็กมากๆ เพราะจะช่วยให้ลูกเขียนได้ง่ายขึ้น เมื่อยมือน้อยลง ลากเส้นได้คล่อง ทำให้ลูกไม่รู้สึกเบื่อกับการเขียน ที่สำคัญ หากปล่อยให้ลูกจับดินสอผิดวิธี จนกลายเป็นความเคยชินไปจนโต จะแก้ไขได้ยากมาก คุณพ่อคุณแม่สามารถสอนวิธีจับดินสอให้เหมาะกับช่วงวัยของลูกได้ ดังนี้

  • อายุ 1 – 1.5 ขวบ จับแบบ Power Grasp

ลักษณะในการจับแบบนี้คือ การจับดินสอแบบใช้อุ้งมือกำ เหมาะกับการจับสีเทียนด้ามอ้วนแน่น จะช่วยให้ลูกจับได้ถนัดมือมากขึ้น เพราะลูกวัยนี้ กล้ามเนื้อมือยังพัฒนาไม่เต็มที่

  • อายุ 2 – 3 ขวบ จับแบบ Immature Pronated Grasp

ลักษณะในการจับแบบนี้ คือ การจับแบบมือคว่ำลง ใช้ทั้งนิ้ว และข้อมือในการประคองดินสอ ซึ่งเหมาะกับการจับดินสอแบบ 3 เหลี่ยม การจับแบบนี้จะช่วยให้ลูกพัฒนาความมั่นคงของข้อมือ และฝึกใช้นิ้วมือในการประคองดินสอได้ดีขึ้นด้วย

  • อายุ 3.5 – 4 ขวบ จับแบบ Less Mature Static Tripod หรือ Static Quadripod  

เป็นลักษณะการจับดินสอที่เกือบจะถูกต้องและสมบูรณ์แล้ว แต่ยังคงเป็นการจับดินสอที่ปรับให้เหมาะตามช่วงอายุของเด็ก ทำให้มีการเรียงนิ้วมือไม่เหมือนกับการจับที่ถูกต้องสักทีเดียว โดยการจับดินสอแบบนี้ เหมาะกับการจับดินสอไม้ทั่วไป

  • อายุ 4.5 – 6 ขวบ จับแบบ Mature Dynamic Pod หรือ Dynamic Quadripod

เป็นลักษณะการจับดินสอที่ถูกต้องเหมาะสม เนื่องจากลูกวัยนี้จะสามารถควบคุมน้ำหนักข้อมือได้ดีขึ้นมากแล้ว

สอนลูกเขียนหนังสืออย่างถูกวิธี

การสอนลูกเขียนหนังสืออย่างถูกวิธีเป็นขั้นตอนสำคัญ แนะนำให้เริ่มฝึกสอนลูกเขียนหนังสือหรือตัวอักษร เมื่อลูกอายุ 4 ขวบ เพราะนั่นคือช่วงวัยที่กล้ามเนื้อมือของเขาพร้อมต่อการเขียนตัวอักษรแล้ว คุณพ่อคุณแม่ต้องค่อยๆ สอนวิธีการเขียนตัวหนังสืออย่างถูกวิธีให้กับลูก โดยต้องสอนอย่างใจเย็นตามขั้นตอนในการเริ่มเขียนดังนี้

  1. เขียนตามเส้นประ เป็นการเริ่มต้นการสอนลูกเขียนหนังสือที่ง่าย และสามารถทำตามได้ไม่ยาก การทำซ้ำบ่อยๆ จะช่วยให้ลูกจดจำ และทำได้ดีมากขึ้นเรื่อยๆ
  2. เริ่มเขียนตัวอักษรเอง หลังจากที่สอนลูกเขียนหนังสือโดยการฝึกเขียนตามเส้นประจนชำนาญแล้ว ขั้นตอนนี้ลูกจะได้ฝึกการลากเส้น การทำงานประสานระหว่างสายตา มือ และสมอง หากลูกมีสมาธิ หมั่นฝึกฝนเป็นประจำ ก็จะสามารถเขียนตัวอักษรได้คล่องแคล่ว และสวยงาม

ทิปเสริม

  • เมื่อสอนลูกเขียนหนังสือแล้ว จากนั้นอาจจะลองมองหาหนังสือหรือตัวการ์ตูนอะไรก็ได้ที่มีชื่อเดียวกับลูก และขณะที่อ่านหนังสือไปด้วยนั้น ชี้ไปที่ตัวอักษรซึ่งเป็นชื่อของลูก และย้ำว่าเห็นไหมตัวการ์ตูนนี้มีชื่อเหมือนกับลูกเลย และก็กระตุ้นให้เกิดการฝึกฝนการเขียนได้อีก
  • เสริมทักษะด้านอื่นๆ สอดแทรกลงไปด้วยได้ เช่น การร้องเพลง หรือเล่นเกมที่มีการเรียกชื่อของลูกด้วยก็ได้
  • สามารถส่งเสริมลูกให้ชอบการเขียนด้วยการฝึกให้เขานั่งบนโต๊ะ ให้ใช้อุปกรณ์ที่มีสีสันหลากหลายเพื่อไม่ให้เกิดความเบื่อหน่ายและสนุกในการเขียน เช่น ปากกาสี ปากกากลิตเตอร์แวววาว เป็นต้น

 

สิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ลูกรู้สึกสนุกกับการสอนลูกเขียนหนังสือ คือ อย่ากดดันลูก และอย่าปล่อยให้เขารู้สึกว่าต้องเผชิญกับปัญหานี้อยู่คนเดียว ระหว่างที่ลูกกำลังหัดเขียน คุณพ่อคุณแม่ควรอยู่ข้างๆ คอยเป็นกำลังใจให้กับลูก ห้ามดุหรือต่อว่าเมื่อลูกทำผิด สร้างบรรยากาศที่ทำให้เขารู้สึกสนุกที่ได้ร่วมหัดเขียนตัวอักษรกับคุณพ่อคุณแม่ สุดท้ายนี้ อย่าลืมให้กำลังใจด้วยคำชมง่ายๆ เช่น หนูเก่งมาก ลูกเขียนสวยมาก หรือให้ของรางวัลเล็กๆ น้อยๆ เมื่อลูกทำได้ดี เพื่อเป็นกำลังใจให้ลูกอยากฝึกเขียนตัวอักษรในครั้งต่อๆ ไป

 

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจเกี่ยวกับเด็ก

ที่มาของบทความ

 

ติดตามอ่านเรื่องเกี่ยวกับเด็กได้ที่ inetsynth.com
สนับสนุนโดย  ufabet369